14:17
จะทำอย่างไรเมื่อภูมิแพ้กำเริบเฉียบพลัน โรคภูมิแพ้นี้เกิดขึ้นจากพัธุกรรมเป็นส่วนมาก มักจะพบตามผิวหนังจนกระทั่งอักเสบคัน เป็นบ้างหายบ้าง...
จะทำอย่างไรเมื่อเกิดภูมิแพ้ที่ผิวหนังจนอักเสบ
 |
จะทำอย่างไรเมื่อภูมิแพ้กำเริบเฉียบพลัน |
โรคภูมิแพ้นี้เกิดขึ้นจากพัธุกรรมเป็นส่วนมาก มักจะพบตามผิวหนังจนกระทั่งอักเสบคัน เป็นบ้างหายบ้าง สามวันดีสี่วันไข้ ประวัติของผู้ป่วยนี้มักจะมีอาการ เยื่อบุแก้วลูกตาอักเสบ อาการแพ้อากาศ ไอ หรือ จามบ่อยครั้ง จะเกิดขึ้นเนื่องจากบรรยากาศรอบตัวเองเปลี่ยนบ่อยๆ
- และยังพบอีกว่าผู้ป่วยภูมิแพ้ที่ผิวหนังจนอักเสบไม่ได้เกิดจากการแพ้สารเคมีใดๆเลย แต่เกิดจากสภาพ Sensitive ของเขามากกว่า เช่นอาการตอบสนองไวต่อสภาพแวดล้อมบรรยากาศภายนอก ร้อน เย็น ชื้น ฝนตก หรือ แห้ง เป็นต้น และหากครอบครัวนั้นไม่เคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน บุคคลญาติลูกหลานก็ไม่ได้เป็นโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามความปกติของโรคนี้อาจจะซ่อนลึกอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยได้โดยยังไม่เกิดอาการใดๆ
สาเหตุที่ทำให้ผื่นภูมิแพ้เริ่มมากขึ้น
- บรรยากาศสภาพแวดล้อม ที่อาศัย ที่นอน รวมถึงละอองเกสร ขนสัตว์ต่างๆ ไรฝุ่น เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้มากขึ้นเรื่อยๆ
- เชื่อโรค เชื่อโรคแบคทีเรียเชื้อราเชื้อต่างๆที่อาจติดมาจากการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยบ่อยๆ ทำให้อาการแทรกซ้อนนั้นกำเริบขึ้นมาได้ หากเกิดอาการแทรกซ้อนลักษณะนี้ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยด่วน
- ฤดูกาลกับภาวะโลกร้อน โรคนี้จะกำเริบมากขึ้นเมื่อถึงฤดูหนาว เนื่องจากหน้าหนาวนั้นอากาศจะแห้งความชื้นในอากาศจะต่ำมาก ทำให้คันและเกิดผื่น แต่พบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการตอนฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อนทำให้เหงื่อออกมากและทำให้กำเริบขึ้นมาอีกครั้งจนเกิดอาการเหมือนกับผู้ป่วยในฤดูหนาว
- เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของแต่งกายต่างๆที่มีขนเล็กๆ โดยเฉพาะขนสัตว์ จะทำให้โรคนี้กำเริบมากขึ้น
- เครื่องอาบน้ำต่างๆ เช่น สบู่ครีมอาบน้ำยาสระผมโฟมล้างหน้าโลชั่น เนื่องจากสารเคมีเหล่านั้นอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้จนระคายเคื่องผิวและเกาจนอักแสบ และกำเริบมากขึ้นในที่สุด
- การบริโภค อาหารที่ผู้ป่วยโรคนี้ควรหลีกเลี้ยงคือ นม, ไข่, ถั่วเหลือง และเนื้อสัตว์บางชนิด
- อารมณ์และสภาวะจิตใจ หากภาวะอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยมีอาการเครียดก็สามารถทำให้กำเริบขึ้นมาได้
การดูและรักษาเมื่อผู้ป่วยภูมิแพ้เกิดอาการกำเริบ
- ออกห่างจากสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการกำเริบ เช่นห้องแอร์ และไม่ควรอาบน้ำในน้ำเย็นจัดหรือร้อนจัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมากๆ
- ทานยา "ต้านฮิสตามีน" เมื่อเกิดอาการกำเริบ วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน และเว้นช่วงห่าง 5-7วัน เพื่อลดอาการที่กำเริบเกิดขึ้น ยากลุ่มที่ ต้านฮิสตามีน ที่ทำให้เกิดอาการกำเริบได้แก่ คลอเฟนนิลามีน ท่านสามรถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรระวังในการใช้ยานี้เนื่องจากทำให้ง่วงนอน ไม่ควรใช้ยานี้และทำงานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับเครื่องจักรเป็นอันขาด
- ทายากลุ่มสเตรียรอยด์ ทำให้ลดอาการการอักเสบของผิวหนัง แต่ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้นเนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงกับยาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ
- เมื่อพบ ตุ่ม หนอง น้ำเหลือง และผื่นแดง เกิดขึ้นตามผิวหนัง แปลว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นจนทำให้เชื้อแทรกซ้อน ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่้ยวชาญด้านผิวหนังเพราะจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อเหล่านั้นเมื่อมีอาการกำเริบ